เกษตรกรตัวอย่าง...ผักไฮโดโปรนึง คำนึง นวลมณีย์

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีการจัดการเรียนรู้

วิธีการจัดการเรียนรู้

                   วิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากวิทยากร สื่อ หรือการปฏิบัติ โดยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนี้
๑.       การเรียนรู้รายบุคคล เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ต้องการจะ
เรียนรู้ในเนื้อหาใด เนื้อหาหนึ่ง ซึ่งเป็นความสนใจเฉพาะตัว ตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย โดยผู้เรียนและวิทยากรร่วมกันวางแผน และออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล
๒.       การเรียนรู้รายกลุ่ม  เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแค่สองคนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน
สิบห้าคน ซึ่งมีความสนใจตรงกันตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
๓.       การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนในแหล่งเรียนรู้ เช่น
ศูนย์ขยายเพาะพันธุ์ปลา ศูนย์สาธิตการทำไร่นาสวนผสม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต องค์การชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น โดยมีการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน
๔.       การเรียนรู้ในสถานประกอบการ เป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถาน
ประกอบการ เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ ห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งประกอบการ SMEs ที่มีส่วนร่วมหรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
๕.       การเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เช่น ฐาน
การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฐานการเรียนรู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฐานการเรียนรู้สุขภาพอนามัย ฐานการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม ฐานการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย เป็นต้น ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากวิทยากร สถานการณ์จริง หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง
๖.       การศึกษาทางไกล เป็นวิธีการจัดการศึกษาที่เปิดกว้างในเรื่องของเวลา สถานที่ เน้น
การเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประสมที่หลากหลาย มีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์      ที่จำเป็น เหมาะสมกับเนื้อหา ตามหลักสูตร รวมทั้งมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือปฏิบัติการจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง ผู้เรียนจึงต้องวางแผนและสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การสรรหาและแต่งตั้งวิทยากร
                   การสรรหาวิทยากร
                   ให้สถานศึกษาสรรหาวิทยากรโดยพิจารณาจากคุณสมบัติดังนี้
๑.       เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิหรือเกียรติบัตรรับรอง หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นผู้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะ ในสาขาวิชาหรือหลักสูตรนั้น ๆ
๒.       เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพสาขาวิชาหรือ
หลักสูตรนั้น ๆ หรือ
๓.      เป็นผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน


การแต่งตั้งวิทยากร
ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. เป็นผู้อนุมัติแต่งตั้ง โดยจัดทำเป็น
คำสั่ง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑.      สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย เตรียมความพร้อมในเรื่องหลักสูตร วิทยากร สถานที่
วัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา
๒.      ผู้เรียนสมัครและลงทะเบียนเรียนต่อสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย
๓.      สถานศึกษาพิจารณาอนุญาตและจัดส่งผู้เรียนได้เรียนกับวิทยากรในแหล่งการเรียนรู้
สถานประกอบการ ที่เหมาะสมตามหลักสูตร
๔.      วิทยากรประเมินพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนก่อนจัดกระบวนการเรียนรู้
๕.      ผู้เรียนกับวิทยากรร่วมกันจัดทำแผนการเรียนรู้
๖.      ดำเนินการจัดการเรียนการสอน
๗.      วิทยากรประเมินผลการเรียนระหว่างเรียนและหลังจบหลักสูตร รวมทั้งประเมินความ
พึงพอใจของผู้เรียน
การวัดผลประเมินผลและรายงานผลการเรียน
                   การวัดผลประเมินผลให้ดำเนินการตามที่หลักสูตรกำหนด ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น
๑.      ประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ ด้วยการซักถาม ทดสอบและปฏิบัติ
๒.      ประเมินด้านคุณธรรม ด้วยแบบประเมินคุณธรรม
๓.      ประเมินชิ้นงาน ด้วยผลงานที่ปฏิบัติ
๔.      ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยแบบสอบถาม
การออกหลักฐานการศึกษา
                   ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามในหลักฐานการศึกษา ตามหลักสูตรกำหนด     โดยระบุชื่อวิชา/กิจกรรม  ระยะเวลา
                   ในกรณีภาคีเครือข่ายที่ไม่ใช่สถานศึกษาเป็นผู้จัดให้ส่งหลักฐานการจบการศึกษาให้กับผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเป็นผู้ออกวุฒิบัตร
แหล่งเรียนรู้/สถานประกอบการ
แหล่งเรียนรู้/สถานประกอบการ ควรมีลักษณะ ดังนี้
๑.       อยู่ในทำเลที่ตั้งที่ผู้เรียนสามารถเดินทางได้สะดวก ปลอดภัย
๒.      มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ
๓.      เป็นแหล่งการเรียนรู้/สถานประกอบการ ที่มีการดำเนินงานมั่นคง น่าเชื่อถือเป็นที่
ยอมรับในสังคม
๔.      มีความพร้อม มีวิทยากร หรือผู้ให้ความรู้ประจำ สามารถจัดการเรียนรู้ หรือจัดการ
เรียนการสอนจนจบหลักสูตรหรือจบกระบวนการได้ รวมทั้งสามารถให้การฝึกปฏิบัติแก่ผู้เรียนจนสามารถปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ ได้
๕.      สามารถจัดบุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรม พัฒนากับสถานศึกษาได้
๖.      มีทัศนคติ เจตคติที่ดีต่อการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้กับผู้อื่น

๗.      สามารถดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ และรับผิดชอบผู้เรียนจนจบหลักสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น