เกษตรกรตัวอย่าง...ผักไฮโดโปรนึง คำนึง นวลมณีย์

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลักการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

หลักการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

                    เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงาน กศน. จึงได้กำหนดหลักการในการจัดไว้ ดังนี้
1.        หลักสูตรได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมชุมชนและความ
ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (เป็นหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติโดยสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้อนุมัติ ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา และหรือเป็นหลักสูตรที่หน่วยงานภาครัฐได้อนุมัติและอนุญาตให้ใช้แล้ว)
2.        สื่อและแหล่งค้นคว้า ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ต้องได้รับการพัฒนาให้มี
ความสอดคล้องกับหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.       วิทยากร ต้องสรรหาวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถหรือมีความเชี่ยวชาญในสาขาที่
จะสอนอย่างแท้จริง และวิทยากรควรผ่านการอบรมการเป็นวิทยากรจากหน่วยงานสถานศึกษาของ กศน.
4.        การจัดการเรียนรู้ จะต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและความ
พร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับความต้องการและบูรณาการวิธีการจัดการเรียนรู้
5.        การจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องเน้นให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย
และสอดคล้อง กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
6.        กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้ในการประกอบอาชีพ
การพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต   และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                   การจัดการศึกษาต่อเนื่อง อาจจัดได้ ดังต่อไปนี้
1.        จัดโดยสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย
2.        จัดโดยสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่าย

3.       จัดโดยภาคีเครือข่าย

วิธีการจัดการเรียนรู้

วิธีการจัดการเรียนรู้

                   วิธีการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากวิทยากร สื่อ หรือการปฏิบัติ โดยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนี้
๑.       การเรียนรู้รายบุคคล เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ต้องการจะ
เรียนรู้ในเนื้อหาใด เนื้อหาหนึ่ง ซึ่งเป็นความสนใจเฉพาะตัว ตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย โดยผู้เรียนและวิทยากรร่วมกันวางแผน และออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล
๒.       การเรียนรู้รายกลุ่ม  เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแค่สองคนขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน
สิบห้าคน ซึ่งมีความสนใจตรงกันตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
๓.       การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนในแหล่งเรียนรู้ เช่น
ศูนย์ขยายเพาะพันธุ์ปลา ศูนย์สาธิตการทำไร่นาสวนผสม ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต องค์การชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น โดยมีการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน
๔.       การเรียนรู้ในสถานประกอบการ เป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถาน
ประกอบการ เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ ห้างสรรพสินค้าหรือแหล่งประกอบการ SMEs ที่มีส่วนร่วมหรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
๕.       การเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เช่น ฐาน
การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฐานการเรียนรู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฐานการเรียนรู้สุขภาพอนามัย ฐานการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม ฐานการเรียนรู้วัฒนธรรมไทย เป็นต้น ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากวิทยากร สถานการณ์จริง หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง
๖.       การศึกษาทางไกล เป็นวิธีการจัดการศึกษาที่เปิดกว้างในเรื่องของเวลา สถานที่ เน้น
การเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประสมที่หลากหลาย มีการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ ทักษะ ประสบการณ์      ที่จำเป็น เหมาะสมกับเนื้อหา ตามหลักสูตร รวมทั้งมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือปฏิบัติการจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง ผู้เรียนจึงต้องวางแผนและสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การสรรหาและแต่งตั้งวิทยากร
                   การสรรหาวิทยากร
                   ให้สถานศึกษาสรรหาวิทยากรโดยพิจารณาจากคุณสมบัติดังนี้
๑.       เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิหรือเกียรติบัตรรับรอง หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นผู้มีความรู้
ความสามารถ ทักษะ ในสาขาวิชาหรือหลักสูตรนั้น ๆ
๒.       เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพสาขาวิชาหรือ
หลักสูตรนั้น ๆ หรือ
๓.      เป็นผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน


การแต่งตั้งวิทยากร
ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน. เป็นผู้อนุมัติแต่งตั้ง โดยจัดทำเป็น
คำสั่ง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑.      สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย เตรียมความพร้อมในเรื่องหลักสูตร วิทยากร สถานที่
วัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา
๒.      ผู้เรียนสมัครและลงทะเบียนเรียนต่อสถานศึกษาหรือภาคีเครือข่าย
๓.      สถานศึกษาพิจารณาอนุญาตและจัดส่งผู้เรียนได้เรียนกับวิทยากรในแหล่งการเรียนรู้
สถานประกอบการ ที่เหมาะสมตามหลักสูตร
๔.      วิทยากรประเมินพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนก่อนจัดกระบวนการเรียนรู้
๕.      ผู้เรียนกับวิทยากรร่วมกันจัดทำแผนการเรียนรู้
๖.      ดำเนินการจัดการเรียนการสอน
๗.      วิทยากรประเมินผลการเรียนระหว่างเรียนและหลังจบหลักสูตร รวมทั้งประเมินความ
พึงพอใจของผู้เรียน
การวัดผลประเมินผลและรายงานผลการเรียน
                   การวัดผลประเมินผลให้ดำเนินการตามที่หลักสูตรกำหนด ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น
๑.      ประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะ ด้วยการซักถาม ทดสอบและปฏิบัติ
๒.      ประเมินด้านคุณธรรม ด้วยแบบประเมินคุณธรรม
๓.      ประเมินชิ้นงาน ด้วยผลงานที่ปฏิบัติ
๔.      ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนด้วยแบบสอบถาม
การออกหลักฐานการศึกษา
                   ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามในหลักฐานการศึกษา ตามหลักสูตรกำหนด     โดยระบุชื่อวิชา/กิจกรรม  ระยะเวลา
                   ในกรณีภาคีเครือข่ายที่ไม่ใช่สถานศึกษาเป็นผู้จัดให้ส่งหลักฐานการจบการศึกษาให้กับผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเป็นผู้ออกวุฒิบัตร
แหล่งเรียนรู้/สถานประกอบการ
แหล่งเรียนรู้/สถานประกอบการ ควรมีลักษณะ ดังนี้
๑.       อยู่ในทำเลที่ตั้งที่ผู้เรียนสามารถเดินทางได้สะดวก ปลอดภัย
๒.      มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ
๓.      เป็นแหล่งการเรียนรู้/สถานประกอบการ ที่มีการดำเนินงานมั่นคง น่าเชื่อถือเป็นที่
ยอมรับในสังคม
๔.      มีความพร้อม มีวิทยากร หรือผู้ให้ความรู้ประจำ สามารถจัดการเรียนรู้ หรือจัดการ
เรียนการสอนจนจบหลักสูตรหรือจบกระบวนการได้ รวมทั้งสามารถให้การฝึกปฏิบัติแก่ผู้เรียนจนสามารถปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ ได้
๕.      สามารถจัดบุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรม พัฒนากับสถานศึกษาได้
๖.      มีทัศนคติ เจตคติที่ดีต่อการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้กับผู้อื่น

๗.      สามารถดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ และรับผิดชอบผู้เรียนจนจบหลักสูตร

ขั้นตอนการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

ขั้นตอนการดำเนินการจัดการศึกษาต่อเนื่อง

๑.  จัดทำเวทีประชาคมเพื่อทราบความต้องการของประชาชนภายในชุมชน 
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
          ๑.๑  บันทึกสรุปเนื้อหาเวทีประชาคม
          ๑.๒  บัญชีรายชื่อผู้ร่วมและลงลายมือชื่อผู้ร่วมเวทีประชาคม
          ๑.๓  บันทึกเสนอผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ (แนบเอกสาร ๑.๑ ,๑.๒ )
๒.  รับสมัครผู้เรียน / วิทยากร
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
                   -  เอกสารที่วิทยากรต้องแนบ
                             ๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
                             ๒. วุฒิการศึกษา หรือใบประกาศ
                             ๓. รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ๑ รูป
๓.  ขออนุญาตเปิดกลุ่ม 
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
          ๓.๑  บันทึกขออนุญาตเปิดกลุ่ม                                          
          ๓.๒  สำเนารายงานขอเปิด (จากโปรแกรมสำเร็จรูป)                   
          ๓.๓  รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตรที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา
          ๓.๔  แผนการสอน                                                                 
          ๓.๕  คำสั่งแต่งตั้งวิทยากร                                               
          ๓.๖  ใบสมัครผู้เรียน                                                               
          ๓.๘  บันทึกเวทีประชาคม                                                          
๔.  รายงานแจ้งการจัดการศึกษา ส่งถึง สำนักงาน กศน.จังหวัดล่วงหน้าก่อนวันจัดกิจกรรม ๗ วัน
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
          ๔.๑  หนังสือนำรายงานการจัดการศึกษา                               
          ๔.๒  บันทึกขออนุญาตเปิดกลุ่ม                                          
          ๔.๓  สำเนารายงานขอเปิด (จากโปรแกรมสำเร็จรูป)
๕.  เตรียมเอกสาร  วัสดุ  และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
๖.  ขออนุมัติเบิกจ่ายค่าวัสดุ      
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
          ๖.๑ หนังสือนำขอส่งหลักฐานเบิกเงินงบประมาณค่าวัสดุ               
          ๖.๒ บันทึกทราบผลการตรวจรับพัสดุและขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน        
          ๖.๓ ใบตรวจรับพัสดุ                                                               
          ๖.๔ ใบส่งของ (กรณีทดรองจ่ายแนบใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน)                            
          ๖.๕ บันทึกขออนุมัติ จัดซื้อ/จัดจ้าง                                      
          ๖.๖ บัญชีประมาณการขออนุมัติ จัดซื้อ/จัดจ้าง                         
          ๖.๗ ใบสั่งซื้อ (กรณีจำนวนเงิน เกินกว่า ๕,๐๐๐ บาท)                                               
          ๖.๘ ใบเสนอราคา                                                                  
          ๖.๙ บันทึกขอเบิกวัสดุเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน               
          ๖.๑๐ ประมาณการวัสดุที่ขอเบิก                                                  
๗.  ดำเนินกระบวนการจัดกิจกรรมการศึกษา
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
          ๗.๓  แบบบันทึกตรวจเยี่ยม
          ๗.๔  แบบประเมินผลผู้เรียน(สีฟ้า) (เฉพาะผู้เรียนการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ)
          ๗.๕  แบบประเมินความพึงพอใจผู้เรียน/การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของผู้เรียน
          ๗.๖  แบบติดตามผู้เรียนหลังจบหลักสูตร (เฉพาะผู้เรียนการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ)
๘.  รายงานผลการจัดกิจกรรมการศึกษา  ส่งถึง สำนักงาน กศน.จังหวัดภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของการจัดกิจกรรม
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
          ๘.๑  หนังสือนำรายงานผลการจัดการศึกษา                                               
          ๘.๒  รายงานผู้จบหลักสูตร (พิมพ์จากโปรแกรมสำเร็จรูป)             
          ๘.๓  ภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบาย                                       
๙.  ขออนุมัติเบิกจ่ายค่าตอนแทน
          ๙.๑  หนังสือนำส่งหลักฐานการเบิกเงินค่าตอบแทนวิทยากร           
          ๙.๒  บันทึกข้อความขออนุมัติเบิกเงิน (ที่ ผอ.กศน.อำเภออนุมัติแล้ว)  
          ๙.๓  รายงานสรุปการขอเบิกเงินค่าตอบแทนวิทยากร                            
          ๙.๔  บัญชีลงเวลาของวิทยากร                                                              
          ๙.๕  บัญชีลงเวลาของผู้เรียน                                                                
          ๙.๖  สำเนาคำสั่งแต่งตั้งวิทยากร                                                  
          ๙.๗  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของวิทยากร
          ๙.๘  สำเนาหน้าบัญชีธนาคารของวิทยากร                             
          ๙.๙  ใบสำคัญรับเงินของวิทยากร           
๑๐.  สรุปรูปเล่มผลการดำเนินงานของการจัดกิจกรรมการศึกษา
ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
          ๑๐.๑  บันทึกรายงานผลเสนอผู้บริหาร

          ๑๐.๒  รูปเล่ม

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง

               การจัดการศึกษาต่อเนื่อง  มีการจัดกิจกรรม/โครงการ/หลักสูตรการศึกษานอกระบบ
   ในรูปแบบที่หลากหลาย ดังนี้
               1)  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ   เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นความรู้และทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น  ให้ผู้เรียนมีทักษะความชำนาญการเฉพาะเรื่องสามารถเพิ่มผลผลิต และหรือลดต้นทุนการผลิต  มีความรู้และทักษะในการจัดการระบบบัญชีการตลาด  และการบริหารจัดการอย่างครบวงจร  สามารถประกอบอาชีพสมัยใหม่ เป็นผู้ประกอบการเอง หรือรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพก็ได้  และรู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  การทำอาหาร  การทำขนมไทย  การนวดแผนไทย  การจัดดอกไม้สด  การเพาะเห็ดฟาง  การประดิษฐ์ของชำร่วย  การตัดเสื้อผ้าสตรี  การจัดสวนหย่อม งานช่างไม้  งานช่างไฟฟ้า  งานช่างก่อสร้าง  คอมพิวเตอร์เพื่อการประกอบอาชีพ ฯลฯ
                     2)  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต   เป็นการจัดกระบสนการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับชีวิตเสริมสร้างความรู้ความสามารถของบุคคล  กระตุ้นให้เกิดวิธีคิด  เห็นคุณค่าของตนเอง  ซึ่งมีเนื้อหาของกิจกรรมสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  ได้แก่  ครอบครัวศึกษา  ดนตรี  กีฬายาเสพติด  ประชาธิปไตย  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สุขภาพอนามัยคุณธรรมและจริยธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โบราณคดี  โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆเช่น  การเข้าค่าย  การแข่งขัน  การศึกษาดูงาน ฯลฯ
              3)  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน   เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายและความต้องการของประชาชนในการพัฒนาสังคมและชุมชน  บูรณาการเนื้อหาต่าง ๆ  ให้ความรู้และฝึกทักษะตามความต้องการของชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้  เน้นการจัดเวทีชาวบ้าน  การจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนการจัดการความรู้ในชุมชน  การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชน
               4)  หลักสูตรระยะสั้น   เน้นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการ กศน. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชน ให้สามารถพัฒนาตนเองสู่ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน
               5)  การศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนในชุมชน โดยให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นศูนย์สาธิตและทดลองด้านการศึกษาอาชีพ และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง เพื่อพัฒนาแนวการจัดกระบวนการเรียนรุ้ให้ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน  ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
                  6)  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริ โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่เป็นต้นทุนของชุมชน ดำเนินการสร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพภายใต้วัฒนธรรมของชุมชนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การส่งเสริมการรู้หนังสือ เช่น  ศูนย์การเรียนรู้พิกุลทอง จังหวัดนราธวาส  ศูนย์การเรียนรู้ห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี ฯลฯ