เกษตรกรตัวอย่าง...ผักไฮโดโปรนึง คำนึง นวลมณีย์

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง

               การจัดการศึกษาต่อเนื่อง  มีการจัดกิจกรรม/โครงการ/หลักสูตรการศึกษานอกระบบ
   ในรูปแบบที่หลากหลาย ดังนี้
               1)  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ   เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นความรู้และทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น  ให้ผู้เรียนมีทักษะความชำนาญการเฉพาะเรื่องสามารถเพิ่มผลผลิต และหรือลดต้นทุนการผลิต  มีความรู้และทักษะในการจัดการระบบบัญชีการตลาด  และการบริหารจัดการอย่างครบวงจร  สามารถประกอบอาชีพสมัยใหม่ เป็นผู้ประกอบการเอง หรือรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพก็ได้  และรู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  การทำอาหาร  การทำขนมไทย  การนวดแผนไทย  การจัดดอกไม้สด  การเพาะเห็ดฟาง  การประดิษฐ์ของชำร่วย  การตัดเสื้อผ้าสตรี  การจัดสวนหย่อม งานช่างไม้  งานช่างไฟฟ้า  งานช่างก่อสร้าง  คอมพิวเตอร์เพื่อการประกอบอาชีพ ฯลฯ
                     2)  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต   เป็นการจัดกระบสนการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับชีวิตเสริมสร้างความรู้ความสามารถของบุคคล  กระตุ้นให้เกิดวิธีคิด  เห็นคุณค่าของตนเอง  ซึ่งมีเนื้อหาของกิจกรรมสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  ได้แก่  ครอบครัวศึกษา  ดนตรี  กีฬายาเสพติด  ประชาธิปไตย  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สุขภาพอนามัยคุณธรรมและจริยธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โบราณคดี  โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆเช่น  การเข้าค่าย  การแข่งขัน  การศึกษาดูงาน ฯลฯ
              3)  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน   เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบายและความต้องการของประชาชนในการพัฒนาสังคมและชุมชน  บูรณาการเนื้อหาต่าง ๆ  ให้ความรู้และฝึกทักษะตามความต้องการของชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้  เน้นการจัดเวทีชาวบ้าน  การจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนการจัดการความรู้ในชุมชน  การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชน
               4)  หลักสูตรระยะสั้น   เน้นการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการ กศน. ร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชน ให้สามารถพัฒนาตนเองสู่ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน
               5)  การศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนในชุมชน โดยให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นศูนย์สาธิตและทดลองด้านการศึกษาอาชีพ และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง เพื่อพัฒนาแนวการจัดกระบวนการเรียนรุ้ให้ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน  ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
                  6)  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริ โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่เป็นต้นทุนของชุมชน ดำเนินการสร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพภายใต้วัฒนธรรมของชุมชนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การส่งเสริมการรู้หนังสือ เช่น  ศูนย์การเรียนรู้พิกุลทอง จังหวัดนราธวาส  ศูนย์การเรียนรู้ห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น